Whoscall รายงานประจำปี 2566 คนไทยเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

สรุปประเด็นเด่น

  • มิจฉาชีพขยันหลอกมากขึ้น 2 ล้านครั้ง จากปีที่ผ่านมา
  • คนไทยเสี่ยง ต้องรับสายโจร 8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

Whoscall ผู้นำด้านแอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน เผยรายงานประจำปี 2566 พบมิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับ ข้อความ หลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์ อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง 

รายงานประจำปี 2566 โดย Whoscallจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และ ลิงก์จากข้อความ พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ

ภาพรวมการหลอกลวงในเอเชียคลี่คลายลง

ข้อมูลจากรายงานปี 2566 พบว่ามีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจาก ปีก่อนหน้า 14% (405.3 ล้านครั้ง ในปี 2565) ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์

คนไทยเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะที่เทรนด์การหลอกลวงในเอเชียดูเหมือนจะคลี่คลายลง ปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565 จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565 และข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้น 17% สูงถึง 58.3 ล้านข้อความ จาก 49.7 ล้านข้อความ ในปี 2565

คนไทยรับ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

Whoscall เผยจำนวนข้อความหลอกลวง เฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ซึ่งมากที่สุด ในเอเชีย โดยอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหานี้ กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์พยายามเตือนให้ประชาชนเพิ่มความ ระมัดระวังเพื่อป้องกันการหลอกลวงและความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสียเงิน

มิจฉาชีพยังคงพุ่งเป้าส่ง SMS หลอกลวงคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องพนันออนไลน์และหลอกปล่อยเงินกู้ คีย์เวิร์ดสำคัญ อาทิ ยูสใหม่ แจกฟรี ฟรี 500 ฝากครั้งแรกรับ และสร้างการหลอกลวงใหม่ๆ โดยแอบอ้างบริษัทขนส่ง และหน่วยงานรัฐ อาทิ พัสดุของท่านเสียหาย เคลมค่าเสียหายติดต่อ จดตัวเลขมิเตอร์ผิด ประกันมิเตอร์ เป็นต้น

นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook/ Whoscall กล่าวว่า “จากรายงานล่าสุด พบว่าคนไทยมีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียที่จะถูกหลอกลวงผ่านทางข้อความ และการโทรศัพท์ โดยมิจฉาชีพมีเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ นำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางการเงินของคนไทย Whoscall ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำให้คนไทยใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ รับรู้ข้อมูลจากแหล่ง ที่น่าเชื่อถือเป็นหัวใจสำคัญ การใช้แอป Whoscall เป็นเครื่องมือป้องกันและช่วยให้เรารู้ทัน ก็จะช่วยคุ้มครองคุณ จากการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ได้ รวมถึงคนที่คุณรัก ชุมชน และสังคมของเราด้วย”

ในเดือน มิถุนายน 2566 Whoscall เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ฟรี เพื่อสแกนลิงก์ URLs  ที่น่าสงสัย โดยผู้ใช้สามารถนำลิงก์ที่สงสัย มาวางในแอปพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยง หรือเปิดการตั้งค่าให้ตรวจสอบจาก SMS ที่มีลิงก์แนบมาด้วย พบว่า 4.5% ของข้อความที่ได้รับ มีลิงก์ที่น่าสงสัย ซึ่งแนบลิงก์หลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซด์ปลอม (27%),   หลอกให้ดาวน์โหลดแอปอันตราย  (20%) และเข้าหน้าช๊อปปิ้งออนไลน์ปลอม (8%)

แม้จะมีการให้ความรู้ถึงภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการหลอกลวงพัฒนารวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจาก มิจฉาชีพใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดรั่วร่วมกับปรับรูปแบบให้แนบเนียนยิ่งขึ้น ยากที่เหยื่อจะแยกแยะและเพิ่มโอกาสที่จะหลอก ลวงสำเร็จ

แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวปิดท้ายว่า “Whoscall มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำระดับโลก ในการป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองคนไทย นอกเหนือจากการให้ความรู้และ สร้างความตระหนักแก่สาธารณชน เรายังคงพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ระบบสแกนลิงก์และการกรอง ข้อความที่น่าสงสัย แสดงถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการสร้างสรรค์และขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยี เพื่อให้การ ป้องกันการหลอกลวงมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิสัยทัศน์ของ Whoscall คือการเสริมพลังให้ชาวไทยด้วยองค์ความรู้และเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อต้านทานภัยคุกคาม จากการ หลอกลวงดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น เราเชื่อว่าความร่วมมือของทุกภาคส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม สถาบันการเงิน และหน่วยงานรัฐ จะช่วยเข้าถึงการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า และร่วมกันขับเคลื่อนการปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพ และสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน ในประเทศไทย”